超ローカルからはじまるグローバル! エンパワメントが社会を変える!

MENU

Day Care Center (NNA POWER ASIA :14 Jan 2022) Article (Thai version)

  • HOME »
  • Day Care Center (NNA POWER ASIA :14 Jan 2022) Article (Thai version)

NNA POWER ASIA (14 Jan 2022)

รัฐบาลท้องถิ่นสนใจเปิดบริการศูนย์ Daycare สถานที่ดูแลผู้สูงอายุตอนกลางวันโดย NPO ของญี่ปุ่นให้ความร่วมมือและตั้งเป้าส่งเสริมให้เป็นโครงการตัวอย่าง

จากการที่ประเทศไทยมีอัตราการเกิดที่มีแนวโน้มลดลงพร้อมกับการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ทำให้รัฐบาลท้องถิ่นต้องการสถานบริการดูแลผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น เทศบาลบึงยี่โถ อ.ธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี ซึ่งตั้งอยู่ทางตอนเหนือของกรุงเทพฯ ได้เปิดบริการศูนย์ Daycare สถานที่ดูแลผู้สูงอายุตอนกลางวันในปี 2562 โดยได้รับการสนับสนุนจากองค์กร NPO ของญี่ปุ่น และเปิดโรงพยาบาลเพิ่มเติมขึ้นในปี 2552 ในฐานะที่ต้องการให้เป็นโครงการตัวอย่างสำหรับรัฐบาลท้องถิ่นที่มีงบประมาณจำกัดในการพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกและการบริการการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุอย่างยั่งยืน ปรากฎว่าได้รับความสนใจจากหน่วยงานราชการส่วนกลางและเจ้าหน้าที่ในจังหวัดอื่นๆ ได้เดินทางเข้ามาเยี่ยมชมและเรียนรู้งานจากศูนย์แห่งนี้เป็นจำนวนมาก

เทศบาลเมืองบึงยี่โถ ในจังหวัดปทุมธานีทางตอนเหนือของกรุงเทพฯ เปิดศูนย์ DAILY CARE ในปี 2562 (ภาพซ้าย) และเปิดโรงพยาบาลที่อยู่ติดกันในปี 2564 ที่สามารถดูแลผู้สูงอายุได้อย่างครบวงกร (ได้รับการสนับสนุนจาก NOGEZAKA-GLOCAL)

 

จากข้อมูลสถิติของธนาคารโลก ในปี 2562 คนไทยมีอายุขัยเฉลี่ยที่ 77.2 ปี ซึ่งสูงเป็นอันดับสองในภูมิภาครองจากสิงคโปร์ที่มีอายุขัยเฉลี่ย 83.5 ปี ในช่วงเวลาประมาณ 20 ปีที่ผ่านมาอายุขัยเฉลี่ยของคนไทยเพิ่มขึ้นอย่างมากจากในปี 2543 ที่มีอายุเพียง 70.6 ปี ส่วนหนึ่งเป็นผลเนื่องมาจากความก้าวหน้าของเทคโนโลยีทางการแพทย์ จากข้อมูลอื่นๆ ทำให้รู้ว่าอีก 15 ปีข้างหน้าไทยจะมีสัดส่วนจำนวนประชากรที่มีอายุมากกว่า 65 ปีขึ้นไปอยู่ที่ 10.6%  และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 13% ใน 20 ปี และเพิ่มเป็น 16.2% ใน 25 ปี และเพิ่มขึ้นเป็น 56 19.6% ใน 30 ปี และ 26.2% ใน 40 ปีข้างหน้า แสดงให้เห็นว่าในอีก 20 ปีข้างหน้าประเทศไทยจะกลายเป็นสังคมผู้สูงอายุอย่างรวดเร็ว

 

การที่อัตราการเกิดใหม่ของประชากรไทยลดลงอย่างรวดเร็ว จะเห็นได้จากในปี 2562  ไทยมี “อัตราการเกิดอย่างหยาบ” (Crude Birth Rate) อยู่ที่ 10.2 คนต่อประชากรพันคน ในขณะที่อัตราการเกิดอย่างหยาบในปี 2542 อยู่ที่ 14.5 คนต่อประชากรพันคน แสดงให้เห็นว่าในช่วง 20 ปีที่ผ่านมาไทยมีอัตราการเกิดที่ลดต่ำลงอย่างรวดเร็ว

เนื่องจากประเทศไทยมีอัตราการเกิดที่ลดลงอย่างต่อเนื่องและกำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ  ปัจจุบันองค์กร “NOGEZAKA-GLOCAL” NPO แห่งเมืองโยโกฮาม่า ประเทศญี่ปุ่นพยายามทุ่มเทความรู้และแชร์ประสบการณ์ที่มีอยู่ในการช่วยส่งเสริมให้ไทยสามารถจัดตั้งสถานดูแลผู้สูงอายุได้ โดยองค์กร NOGEZAKA-GLOCAL มีจุดแข็งในด้านการพัฒนาชุมชนและความร่วมมือระหว่างประเทศ  เป็นรูปแบบการทำงานร่วมกันอย่างกว้างขวางระหว่างรัฐบาลท้องถิ่นของญี่ปุ่น เช่น เทศบาลเมืองยูกาวาระ และเทศบาลเมืองโยโกฮาม่าในจังหวัดคานากาว่า บริษัทญี่ปุ่นและหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในประเทศไทย

เพื่อร่วมมือในการเปิดโครงการเพื่อสร้างศูนย์ดูแลสุขภาพผู้สูงอายุในเขตเทศบาลเมืองยี่โถ​ จ.ปทุมธานี โดยศูนย์แห่งนี้ซึ่งได้รับทุนสนับสนุนเงินทุนในการดำเนินการเทศบาลท้องถิ่นเมืองยี่โถ เริ่มเปิดให้บริการในปี พ.ศ. 2562 โดย Mr. Toshiyuki OGUI ตัวแทนจากองค์กร NOGEZAKA-GLOCAL กล่าวว่า “นี่เป็นผลแห่งความสำเร็จในการสร้างศูนย์ดูแลผู้สูงอายุเต็มรูปแบบระดับตำบลแห่งแรกในประเทศไทย ที่ไม่นับการเปิดศูนย์ในเมืองใหญ่ๆ อย่างกรุงเทพมหานคร”

NOGEZAKA-GLOCAL กับรัฐบาลท้องถิ่นของไทยและญี่ปุ่น รวมถึงมหาวิทยาลัยร่วมกันรับรางวัลชนะเลิศ “Asian Health and Longevity Innovation Award” ในปี 2564 จากรัฐบาลญี่ปุ่นในการส่งเสริมสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี คนที่สองจากขวาคือคุณโอคุอิ ตัวแทนองค์กร NOGEZAKA-GLOCAL

 

 

เมื่อเปรียบเทียบกับญี่ปุ่นแล้ว ประเทศไทยยังคงเป็นสังคมที่มีครอบครัวขนาดใหญ่ที่มีสมาชิกจำนวนมาก จึงเป็นสังคมที่มีบุคคลในครอบครัวและญาติๆ ที่ช่วยกันในการดูแลผู้สูงอายุได้ไม่ยาก แต่ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ไทยประสบปัญหาอัตราการเกิดที่ลดลง คนไทยมีอายุขัยเฉลี่ยเพิ่มขึ้น รวมทั้งคนหนุ่มสาวจำนวนมากต้องทิ้งบ้านเกิดเพื่อเข้ามาทำงานและอาศัยในกรุงเทพฯ และพื้นที่ในภาคตะวันออกของประเทศ ทำให้พบความเป็นจริงว่าปัจจุบันลูกหลานที่ไม่สามารถช่วยดูแลพ่อแม่ได้เหมือนแต่ก่อนมีอัตราเพิ่มสูงขึ้น สำหรับโครงการที่องค์กร NOGEZAKA-GLOCAL กำลังพยายามผลักดันอยู่คือ การตอบสนองของความต้องการที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทย โดยในปี พ.ศ. 2564 ศูนย์แห่งนี้ในฐานะของ”หน่วยงานความร่วมมือข้ามชาติไทย-ญี่ปุ่น” ประกอบด้วยเทศบาลท้องถิ่น, องค์กรพัฒนาเอกชนของญี่ปุ่น, NPOs และมหาวิทยาลัย ได้รับรางวัลชนะเลิศ “Asian Health and Longevity Innovation Award” ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแนวคิดของรัฐบาลญี่ปุ่นในการส่งเสริมสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีในเอเชีย

 

*การให้มาใช้บริการได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายเป็นเรื่องยากในการดูแลรักษาศูนย์ให้เกิดความยั่งยืน
ในประเทศไทย พบว่ามีโรงพยาบาลรัฐหลายแห่งได้จัดตั้งสถานพยาบาลผู้สูงอายุ อย่างไรก็ตาม Mr. OKUI ชี้ให้ถึงปัญหาว่า “เมื่อโรงพยาบาลเป็นผู้จัดตั้งและเปิดสถานดูแลผู้สูงอายุ จะสามารถให้บริการได้เฉพาะคนบางกลุ่มที่อยู่อาศัยใกล้ๆ โรงพยาบาลเท่านั้น” โดยเรียกร้องให้เทศบาลท้องถิ่นทั่วประเทศเล็งเห็นถึงความจำเป็นในการจัดตั้งศูนย์ดูแลผู้สูงอายุในพื้นที่

เทศบาลเมืองบึงยี่โถ ก็มีรายได้จากการจัดเก็บภาษีที่จำกัดเช่นเดียวกับเทศบาลท้องถิ่นอื่น ๆ แต่นายกเทศมนตรีบึงยี่โถให้การสนับสนุนโครงการนี้อย่างจริงจัง มีการระดมแหล่งเงินทุน จัดหาสิ่งอำนวยความสะดวก และได้มีการให้บริการดูแลผู้สูงอายุแบบมีค่าใช้จ่ายจนสามารถเปิดให้บริการศูนย์แห่งนี้ขึ้นจริง Mr. OKUI กล่าวว่า “นักการเมืองเทศบาลท้องถิ่นพยายามให้บริการฟรีเพื่อให้ได้รับความนิยม แต่อาจทำให้เปิดดำเนินการได้ไม่ยั่งยืน” เขากล่าว “หนึ่งในปัจจัยแห่งความสำเร็จ คือศูนย์ดูแลผู้สูงอายุในเทศบาลบึงยี่โถจะต้องเก็บค่าบริการจากผู้ที่เข้ามาใช้บริการบ้างเช่นกัน” นอกจากนี้ “เทศบาลท้องถิ่นอื่นๆ
ก็สามารถจัดตั้งศูนย์ดูแลผู้สูงอายุเหล่านี้ได้ในลักษณะเดียวกับเทศบาลเมืองยี่โถโดยไม่ต้องพึ่งพาการสนับสนุนเป็นพิเศษจากโรงพยาบาล หรือรัฐบาลกลาง นับว่าเป็นโมเดลแบบอย่างที่สามารถขยายผลไปยังเขตเทศบาลอื่นๆ ได้เช่นเดียวกัน”

ในปี พ.ศ. 2564 เทศบาลเมืองยี่โถได้เปิดโรงพยาบาลระดับเทศบาลที่อยู่ติดกับศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ โดยมีเป้าหมายเพื่อยกระดับการบริการที่เกี่ยวข้องกับการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุในระยะยาวต่อไป ในประเทศไทย ยังคงมีโรงพยาบาลเทศบาลอยู่เพียงไม่กี่แห่ง โดยมีทีมแพทย์โรงพยาบาลภาครัฐในระแวกใกล้เคียงเข้าไปช่วยดูแลในโรงพยาบาลระดับท้องถิ่น แต่เทศบาลเมืองยี่โถ
มีแพทย์จำนวน 5 คนและนักกายภาพบำบัด 7 คนทำงานอยู่ในศูนย์ฯ  โดย Mr. OKUI กล่าวต่อว่า “นับเป็นมาตรฐานที่สมบูร์แบบที่โรงพยาบาลเทศบาลทั่วไปไม่สามารถทำได้” เนื่องจากเป็นการเปิดโรงพยาบาลและสถานดูแลผู้สูงอายุระยะยาวที่ตั้งอยู่ติดกัน ทำให้มีระบบให้การบริการที่ดีตั้งแต่การรักษาพยาบาลผู้ป่วยสูงอายุ การทำกายภาพบำบัดเพื่อรักษาและฟื้นฟู ไปจนถึงการดูแลส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุให้มีสุขภาพดีในรูปแบบต่างๆ อย่างครบวงจรแบบ ONE STOP SERVICE

ได้รับการผลักดันจากนโยบายภาครัฐในการกระจายอำนาจไปยังท้องถิ่น

สำนักงานคณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในประเทศไทย ซึ่งมีพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีดำรงตำแหน่งเป็นประธานกำลังดำเนินการเพื่อกระจายอำนาจการปกครองจากรัฐบาลกลางไปยังรัฐบาลท้องถิ่น และ Mr. OKUI กล่าวว่า “ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ผมประทับใจที่คุณภาพการทำงานของข้าราชการในท้องถิ่นดีขึ้นอย่างมาก” . . การที่เทศบาลท้องถิ่นส่งเสริมการจัดตั้งศูนย์ดูแลสุขภาพผู้สูงอายุคือผลงานหนึ่งจากนโยบายส่วนนี้ การเปิดศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ และโรงพยาบาลในเทศบาลเมืองบึงยี่โถนี้กลายเป็นศูนย์เรียนรู้ที่ได้รับความสนใจจากหน่วยงานอื่นๆ ในประเทศ พบว่าในปี พ.ศ. 2563  มีมหาวิทยาลัยและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต่างๆ เข้ามาเยี่ยมชมและเรียนรู้งานจากศูนย์แห่งถึง 33 หน่วยงาน รวม 1,312 คน และมีการสอบถามเข้ามาอย่างต่อเนื่อง เมื่อครั้งที่ Mr. OKUI เดินทางมาเยือนประเทศไทยในเดือนธันวาคมที่ผ่านมา เขาได้เข้าประชุมกับผู้บริหารจากกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์อีกด้วย โดยได้รับความเห็นจากหน่วยงานภาครัฐว่าจะให้การสนับสนุนในทุกด้านเพื่อการจัดตั้งระบบดังกล่าวโดยใช้เทศบาลเมืองบึงยี่โถเป็นกรณีตัวอย่าง
ถัดจากเทศบาลเมืองบึงยี่โถ ในปี 2563 องค์กร NOGEZAKA-GLOCALได้สนับสนุนโครงการที่จะจัดตั้งศูนย์ดูแลผู้สูงอายุรวมกับรัฐบาลท้องถิ่นในเขตเทศบาลตำบลทับมา จังหวัดระยอง ที่ตั้งอยู่ในภาคตะวันออกของไทยอย่างต่อเนื่อง โดยมีเทศบาลบึงยี่โถได้เข้าร่วมในโครงการนี้ด้วย มีรูปแบบการทำงานร่วมกันระหว่างเทศบาลและชุมชนเพื่อการดูแลผู้สูงอายุแบบองค์รวม โดยโครงการดังกลาว จะเป็นการสร้างเครือข่ายที่กว้างขวางขึ้น จากระดับ “จุด” สู่ระดับ “พื้นที่ชุมชน”  ตั้งแต่ปี 2565 ด้วยความร่วมมือขององค์การความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งประเทศญี่ปุ่น (หรือ JICA) ได้มีการวางแผนที่จะดำเนินการโครงการผ่านเครือข่ายรวมทั้งหมด 4  ภูมิภาค โดยรวมเขตเทศบาลเมืองหัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ในภาคใต้ เทศบาลตำบลเขาพระงาม อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรีในภาคกลาง Mr. OKUI แสดงเจตนารมย์ต่อว่า “ภายในปี พ.ศ. 2568 ผมวางแผนส่งเสริมการสร้างเครือข่ายในประเทศไทยให้ครบ 20 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น” ยิ่งไปกว่านั้น ในขั้นต่อไป Mr. OKUI กล่าวถึงความต้องการนำโครงการต้นแบบในประเทศไทยพัฒนาเครือข่ายออกไปยังประเทศกัมพูชาและลาวโดยมีการดัดแปลงเนื้อหาให้เหมาะกับสถานการณ์ในท้องถิ่นนั้นๆ

 

ข้อมูลตั้งแต่ปี พ.ศ. 2563 เป็นตัวเลขคาดการณ์   แหล่งที่มาข้อมูล : อ่านไม่ออก

 

ชุมชน หรือประเทศที่เกี่ยวข้อง : ไทยญี่ปุ่น
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง การแพทย์, ยารักษาโรค
/MACRO/สถิติ, ข้อมูลทางเศรษฐกิจ/สังคม

https://www.nna.jp/news/show/2286457

FBでイベント情報発信中!

  • facebook
PAGETOP
Copyright © 野毛坂グローカル All Rights Reserved.
Powered by WordPress & BizVektor Theme by Vektor,Inc. technology.